วันพุธที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557

คู่มือดูแลสุขภาพ

                                         
    
 ความรู้เกี่ยวกับความดันโลหิตสูง  (สมเกียรติ  แสงวัฒนาโรจน์)

ความดันโลหิต (blood  pressure)  คืออะไร

          ความดันโลหิต  (ความดันเลือด) คือ แรงดันที่หัวใจบีบตัวส่งเลือดออกจากหัวใจไปตามหลอดแดงเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น สมอง ตา ตับไตไส้พุง  แขน ขา รวมทั้งผ่านหลอดเลือดแดงหัวใจไปเลี้ยงตัวกล้ามเนื้อหัวใจเองด้วย  โดยทั่วไปจะวัดความดันโลหิตที่แขน ในท่านั่งพัก แต่อาจวัดความดันโลหิตที่ขา หรือในท่าอื่นก็ได้  หน่วยที่ใช้วัดความดันโลหิต คือ มม.ปรอท (mm Hg) ค่าปกติของความดันโลหิตคือ 120/80 มม.ปรอท (อ่านว่า  หนึ่งร้อยยี่สิบ ส่วน แปดสิบ มิลลิเมตรปรอท) หมายถึง ความดันโลหิตตัวบนเท่ากับ120มม.ปรอท และความดันโลหิตตัวล่างเท่ากับ 80 มม.ปรอท
           ทำไมต้องมีความดันโลหิตตัวบนตัวล่าง  (systolic/diastoli bood pressure) ความดันโลหิตตัวบนเป็นแรงดันเลือดที่วัดได้ที่แขนเวลาหัวใจบีบตัว (systole) ส่วนความดันโลหิตตัวล่างเป็นแรงดันเลือดเวลาหัวใจคลายตัว



รู้ได้อย่างไรว่าเป็นความดันโลหิตสูง


           ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมักไม่แสดงอาการอะไร  กว่าจะรู้ว่าเป็นความดันโลหิตสูงก็กลายเป็นอัมพาล หัวใจล้มเหลว หรือไตวายไปแล้วก็มี ไม่มีวิธีทีอื่นใดจะบอกว่าเราเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่  นอกจากการวัดความดันโลหิต และต้องวัดหลายๆครั้งด้วยวิธีการวัดที่ถูกต้องเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ถ้าความดันโลหิตสูงเกิน 140/90 มม.ปรอทก็ถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง แต่ถ้าใครรับประทานยาความดันโลหิตสูงอยู่ แล้ววัดความดันโลหิตสูงได้ปกติ ก็ถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงเหมือนกัน เพราะถ้าหยุดรับประทานยา ความดันโลหิตก็สูงขึ้นมาใหม่


ทำไมต้องไปสนใจดูแลความดันโลหิตสูงด้วย
ก็ฉันสบายดี ไม่เห็นต้องไปสนใจเลยว่า ความดันโลหิตจะสูงหรือไม่เลยนี่ เพราะบางคนอาจไม่รู้ว่าความดันโลหิตสูงถูกขนานนามว่า ภัยเงียบหรือ ฆาตกรเงียบ ที่ทำให้คนไทยเราป่วย เสียชีวิต และพิการโดยไม่รู้ตัว บางคนตื่นมาก็เป็นอัมพาต ปากเบี้ยวไปแล้ว บางคนแน่นหน้าอก กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือไตวายไปแล้ว จึงรู้ว่าตัวเองเป็นความดันโลหิตสูง
              ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ดูแลความดูแลความดันโลหิตไม่เกิน 140/90 มม.ปรอท ได้ในระยะยาว จะลดโอกาสเกิดหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดใหญ่ฉีกขาด และไตวายเรื้อรังได้
       นอกจากนี้การดูแลไม่ให้ความดันโลหิตสูงมีประโยชน์ช่วยยืดอายุผู้ป่วยได้มากกว่า การรักษาเมื่อป่วยแล้วประมาณ 2-4 เท่า (BMJ.2005;331:614-20.,New Engl Med.2007;356:2388-98.) เพราะบางครั้งเวลาป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง  หลอดเลือดหัวใจแล้วช่วยไม่ทัน ร้อยละ 20-30 ของผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจตีบตัน กล้ามเนื้อหัวใจตาย มาไม่ถึงโรงพยาบาล และร้อยละ 17 ของผู้ที่มาถึงโรงพยาบาลแต่ไม่ได้ออกจากโรงพยาบาล ( J  Med Assoc Thai.2007;90 Suppl 1:1-11.)

          

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น